top of page

รีวิวบอร์ดเกม London Dread (2016)


(ภาพจาก https://cf.geekdo-images.com/images/pic3068547.jpg)

 

สวัสดีคุณนักสืบ เป็นยังไงมั่งกับการเดินรอบๆลอนดอน ที่นี่ดูเหมือนจะน่าอยู่จริงไหม ผู้คนเดินพุกพ่านมากในตอนกลางวัน เป็นภาพที่ดูแล้วน่าตื่นตาตื่นใจ ทั้งหนุ่มสาว พ่อค้าแม่ขาย แต่พอเริ่มเข้ากลางคืน คุณจะเห็นภาพคนละแบบเลยแหละ เมืองนี้จะเหมือนเมืองร้าง แม้จะมีแสงไฟสอดส่องตามท้องถนน แต่ไม่มีใครกล้าออกมาตอนกลางคืนเลย เพราะอะไรน่ะหรือ? ก็เพราะที่นี่มีฆาตกรต่อเนื่องอยู่นะสิ

London Dread จะพาคุณไปรับบทนักสืบที่จะเข้ามาไขคดีต่างๆ ในกรุงลอนดอน โดยคุณจะต้องใช้ตัวละครที่เลือก ในการแก้ไขปริศนา(คล้ายๆกับเกมจับคู่) ซึ่งมีเวลาจำกัดในการเล่น โดยตัวเกมจะเป็นระบบ Co-oprative เล่นได้ 2 - 4 คน ออกแบบเกมโดย Asger Johansan ผลิตโดย Grey Fox Games

(ภาพจาก http://www.queenofgames.be/wp-content/uploads/2017/02/London-Dread-05.jpg)

 

จุดประสงค์ของเกม ผู้เล่นจะต้องช่วยกันจับคู่สัญลักษณ์ของตัวเอง กับการ์ดหวาดกลัว (Dread Cards) เพื่อนำการ์ดใบนั้นออกจากลอนดอนบอร์ดให้ได้มากที่สุด

ซึ่งจะส่งผลต่อตอนจบของแต่ละเนื้อเรื่อง ถ้าแก้ได้เยอะระดับความหวาดกลัว (Dread Track) จะน้อย ทำให้เราสามารถถอยเต๋าจบเนื้อเรื่องนั้นได้ (ยิ่งค่าความหวาดกลัวเยอะ จำนวนลูกเต๋าที่จะต้องสำเร็จก็จะต้องเยอะไปด้วย)

เตรียมอุปกรณ์ก่อนเล่น

  1. เตรียมการ์ดเนื้อเรื่อง (Story Cards) ดูจากสัญลักษณ์มุมซ้ายล่าง ให้เป็นชุดที่มีสัญลักษณ์เหมือนกัน เรียงการ์ดจากตัวอักษร A ไล่ไปเรื่อยๆ ตรงนี้จะเป็น การเรียงลำดับว่าเมื่อเปิดเจอการ์ดเค้าโครงคดี (Plot Card) แล้วให้เอาการ์ดเนื้อเรื่องนี้ไปวางแทนตามลำดับ เราจะต้องเข้ามาแก้การ์ดเค้าโครงคดีเรื่องตามเวลาที่กำหนด สังเกตช่วงเวลาได้จากมุมขวาบน เรียงลำดับเนื้อเรื่องตอนที่ 1 2 ตอบจบ และ เหตุการณ์ท้าทาย (Challenge Cards) ตามลำดับ

  1. ตรวจดูว่าการ์ดปฏิปักษ์ (Antagonist Card) (ดูได้จากด้านหลังจะเป็นสีฟ้าแล้วเขียน Antagonist ไว้ด้านล่าง) ส่งผลพิเศษอะไรในเนื้อเรื่องที่เล่นตอนนี้ไหม

  2. นำการ์ดจากข้อหนึ่งวางไว้บนบอร์ดตรงหมายเลข 3 (ดูจากภาพด้านบน)

  3. นำการ์ดปฏิปักษ์วางไว้บนบอร์ดลอนดอน

  4. นำตัวหมากสีดำไปวางไว้ที่ระดับความหวาดกลัวด้านบนสุดของบอร์ด เริ่มต้นที่เลข 0

  5. แยกการ์ดความมั่นใจ (Connfidence Cards) การ์ดหวาดกลัวเนื้อเรื่องตอนที่ 1 2 และการ์ดเค้าโครงคดีวางไว้ด้านขวามือ

  6. ผู้เล่นทุกคนเลือกตัวละครของตัวเอง หรือจะสุ่มตัวละครก็ได้ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้

  7. แจกเหรียญคุณธรรม(Virtue Token)ให้ทุกคน คนละอันผู้เล่นจะสามารถใช้เหรียญนี้ เพื่อใช้ความสามารถเฉพาะของแต่ละตัวละคร

  8. แจกแผ่นบอร์ดนาฬิกา 1 ชุด(Action Clock Board) และเหรียญการกระทำ (Action Tokens) ที่มีตัวเลข 1 ถึง 6 อย่างละ 2 ชุด ให้กับผู้เล่น

  9. นำชุดตัวเลข 1 ถึง 6 1 ชุดไปวางไว้ยังหมายเลข 10 ตามภาพด้านบน เป็นเหรียญการกระทำเพิ่มในกรณีที่เหรียญการกระทำของผู้เล่นบางคนไม่เพียงพอ

  10. แยกเหรียญการสืบสวน (Investigation Tokens) ตามสีต่างๆ สีเขียว หมายถึง การใช้เพียงตัวละครแก้ สีขาว หมายถึง การใช้เหรียญคุณธรรมในการแก้ สีเหลือง หมายถึง การใช้สิ่งของในการแก้ สีแดง หมายถึง การใช้การ์ดสืบสวน (Investigation Cards) ในการแก้

  11. นำการ์ดสิ่งของ (Item Cards) มาสับ แล้วจั่วออกมา 3 ใบวางยังช่องคลังสิ่งของ ตรงหมายเลข 12 ตามภาพด้านบน (จะมี 3 ช่องพอดี)

  12. นำการ์ดความมั่นใจ มาสับแล้ว เอาการ์ดบนสุด 3 ใบวางไว้ยังช่องสืบส่วน (Investigation Slot) ตรงหมายเลข 13 ตามภาพด้านบน (ถ้าต้องการเพิ่มระดับความยากง่ายสามารถลด หรือเพิ่มการ์ดนี้ได้)

  13. นำการ์ดเค้าโครงคดีแบ่งเป็น 4 กอง *ถ้ามีการ์ดเกินกว่า 4 ใบให้สุ่มไปไว้กองใดกองหนึ่ง* แล้วนำการ์ดหวาดกลัว สุ่มไปยัง 4 กองดังกล่าว โดยแต่ละกอง จะมีทั้งหมด 6 ใบ สับแต่ละกอง แล้วนำไปวางไว้บนลอนดอนบอร์ด ตามทิศต่างๆ ทั้ง 4 ทิศ

  14. ผู้เล่นสามารถโหลดโปรแกรมในการนับเวลาของเกมนี้ได้จากลิงค์ด้านล่าง เพื่อใช้ในการจับเวลา และเลือกระดับความยากง่ายของเกม Android App iOS App

วิธีการเล่น London Dread London Dread แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ด้วยกัน 1. ช่วงการวางแผน (The Planing Phase) 2. ช่วงดำเนินเนื้อเรื่อง (The Story Phase)

1. ช่วงการวางแผน (The Planing Phase)

(ภาพจาก http://www.plotmakergames.com/wp-content/uploads/2016/07/LDGAME_SETUP-1030x812.png)

 

โดยทุกคนจะเริ่มที่ 6 AM เหมือนกัน จากนั้นเปิดโปรแกรมที่โหลดมา เป็นตัวจับเวลา ผู้เล่นทุกคนสามารถเลือกเปิดการ์ดหวาดกลัวตามทิศต่างๆ 4 ทิศบนบอร์ดลอนดอนได้ เป้าหมายคือต้องหาการ์ดเค้าโครงคดีให้ครบทั้งหมด ซึ่งจะกระจายอยู่ตามทิศต่างๆ

จากนั้นให้ผู้เล่นทุกคนเลือกว่าจะเปิดการ์ดหวาดกลัวต่อหรือไม่ การไม่เปิดจะทำให้ระดับความหวาดกลัวขึ้นใบละ 2 หน่วย แต่ถ้าเราเปิดแล้วสามารถแก้ได้จะทำให้ระดับความหวาดกลัวไม่ขึ้น จะส่งผลตอนช่วงจบเกม

(ภาพจาก https://cf.geekdo-images.com/images/pic3194164.jpg)

 

ตัวละครแต่ละตัวจะมีสัญลักษณ์ในการจับคู่ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น Maria (ซ้ายบนสุด) มีสัญลักษณ์ นก สิงโต และเป็นได้ทุกอย่าง ถัดมา Friedrich มี กระทิง สิงโต และเป็นได้ทุกอย่าง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หลักของตัวละคร ผู้เล่นจะต้องนำตัวละครที่มีสัญลักษณ์ตรง ไปจับคู่กับการ์ดหวาดกลัวให้ครบตามระดับความหวาดกลัวของการ์ดใบนั้น

(ภาพจาก http://68.media.tumblr.com/a624f12cfdfa4638b42c3c63ae7ac77e/tumblr_olh7fo0afv1rr6qkko1_1280.jpg)

 

จากภาพด้านบน การ์ด Rigged Cab มีระดับค่าหวาดกลัวที่ 5 (ตัวเลขมุมซ้ายบน) ต้องการสัญลักษณ์ นกฮูก สิงโต และ เฟือง 3 สัญลักษณ์นี้ ซึ่งสามารถใช้ซ้ำกันได้ เช่น จะใช้นกฮูก 5 อัน เลย หรือ นกฮูก 3 สิงโต 2 ก็ได้ ถ้าเราทำสำเร็จ จะนำการ์ดใบนี้ไปยังกองการ์ดสืบสวน

(ภาพจาก https://cf.geekdo-images.com/images/pic3233111_md.jpg)

 

ถ้าการ์ดที่ตัวละครเข้าไปเป็นการ์ดเค้าโครงคดี เงื่อนไขในการแก้จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง คือ สัญลักษณ์ตรงจะได้ลูกเต๋าแทน แล้วใช้การทอยลูกเต๋าเป็นตัววัดผล โดยจะต้องได้ผลสำเร็จเท่ากับเงื่อนไขตามการ์ดเค้าโครงคดีใบนั้นๆ การ์ดเค้าโครงคดียังมีช่วงเวลาที่จะต้องเข้าไปให้ตรงเพื่อที่จะแก้การ์ดใบนั้นๆ (ดูจากมุมขวาบน)

เมื่อจะต้องทำการแก้การ์ดเค้าโครงคดี ให้เลือกตัวละครทีละตัว หลังจากนั้นให้สุ่มการ์ดความสามารถส่วนตัว (Personality Cards) หนึ่งใบ แล้วแสดงผล เพื่อเพิ่มโอกาสในของผลสำเร็จให้มากขึ้น แต่จะมีใบโชคร้ายอยู่เพียงใบเดียว

การเข้าไปยังการ์ดหวาดกลัว หรือ การ์ดเค้าโครงคดี ผู้เล่นมีตัวเลือกเสริมอีก คือ - สามารถใช้การ์ดสิ่งของในการช่วยเพิ่มสัญลักษณ์ - ทิ้งการ์ดสิ่งของในการช่วยเพิ่มสัญลักษณ์ - จั่วการ์ดสืบสวนเพื่อเพิ่มสัญลักษณ์ (ให้สับแล้วจั่วจะจั่วกี่ใบก็ได้ แต่ถ้าจั่วมากไปตอนจบเกมจะทำให้เล่นยากขึ้น)

หลังจากที่เปิดการ์ดจนพอใจแล้ว เราจะต้องมาวางแผนกันผ่านบอร์ดนาฬิกา ว่าจะให้ใครไปทำอะไรตอนไหน

(ภาพจาก http://www.ofdiceandmen.ca/2017/03/19/The-Caped-Killer-is-Afoot-London-Dread-Review/img6.jpg)

 

ผู้เล่นทุกคนจะมีตัวเลข 1 ถึง 6 คนละ 2 ชุด ด้านหลังสามารถผลิกให้เป็นทิศทางในการเดินว่าจะไปยังทิศใดบนบอร์ดลอนดอน

(ภาพจาก http://vimg.tu.tv/imagenes/videos/g/e/gencon-2016-special-london-dread-sneak-peek-with-the-game-boy-geek-gencon2016_imagenGrande1.jpg)

 

จากภาพด้านบน ผู้เล่นจะต้องเสียเหรียญการกระทำหนึ่งอัน เพื่อที่จะเดินมายังทิศตะวันออก แล้วจะต้องเสีย เหรียญ หมายเลขเพื่อที่จะไปจับคู่กับการ์ดหวาดกลัวตามตำแหน่งต่างๆ

ตัวอย่าง Basil มีสัญลักษณ์ นกฮูก นกยูง และเป็นได้ทุกอย่าง อยู่ทางทิศตะวันออก Friedrich มีสัญลักษณ์ กระทิง สิงโต และเป็นได้ทุกอย่าง อยู่ทางทิศเหนือ ตอนนี้เวลา 10 AM

ต้องการที่จะ แก้การ์ดหวาดกลัว Cleansing ตำแหน่ง E3

ผู้เล่น Basil และ Friedrich ตกกันว่า เที่ยงจะต้องมาช่วยกันจับคู่การ์ดหวาดกลัวใบนี้ Friedrich ที่อยู่ทิศเหนือจะต้องเสียเหรียญการกระทำหนึ่งเหรียญ เพื่อย้ายทิศจากเหนือ ไปทิศตะวันออก จะเสียเวลาในช่อง 10 AM ส่วน Basil ที่อยู่ทิศตะวันออกอยู่แล้ว จะไปที่ตำแหน่ง E2 The Pawn Shop ตอนเวลา 10 AM และเมื่อเวลา เที่ยง ทั้ง 2 คนจะมีอยู่ตำแหน่งเดียวกัน เพื่อจับคู่สัญลักษณ์ ที่ตำแหน่ง E3 ระดับความยาก 4 (ภาพจาก http://ludovox.fr/wp-content/uploads/2016/12/london-dread-jeu-ludovox.png)

 

ผู้เล่นจะต้องช่วยกันจับคู่สัญลักษณ์ กับการ์ดหวาดหลัวที่เกิดขึ้นบนลอนดอนบอร์ดให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ ต้องสอดคล้องกับเหรียญการกระทำที่วางไว้อยู่บนบอร์ดนาฬิกาด้วย

ในระหว่างช่วงวางแผน เพื่อเตือนความจำให้วางเหรียญการสืบสวน ตามวิธีการแก้ ด้วย - สีเขียว หมายถึง การใช้เพียงตัวละครแก้ - สีขาว หมายถึง การใช้เหรียญคุณธรรมในการแก้ - สีเหลือง หมายถึง การใช้สิ่งของในการแก้ - สีแดงหมายถึง หมายถึง การใช้การ์ดสืบสวนในการแก้

2. ช่วงดำเนินเนื้อเรื่อง (The Story Phase) ช่วงนี้เราจะย้อนตัวละครทั้งหมดกลับไปยังจุดเริ่มต้น คือทิศตะวันตก เริ่มนับนาฬิกาตั้งต้นที่ 6AM ให้เลือกหนึ่งคนเป็นหัวหน้านักสืบ (เป็นเหมือนผู้ดำเนินการ) คอยบอกว่าตอนนี้ 6AM แล้วให้ขยับตัวละครเรา ตามเหรียญการกระทำที่เราลงไว้

(ภาพจาก http://www.gioconauta.it/wp-content/uploads/2016/10/al2-2.jpg)

 

ทำไปเรื่อยจนจบ แล้วเช็คว่าค่าระดับความหวาดกลัวขึ้นเท่าไหร่ และจะเริ่มเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของเกม

การ์ดเงื่อนไข (Condition Cards)

การ์ดเงื่อนไขจะทำให้เกิดผลแย่กับเรา ในช่วงดำเนินเนื้อเรื่อง ถ้าเราได้การ์ดซ้ำเดิม (มีสองชนิดคือ การ์ดบาดเจ็บ (Injured cards) และ การ์ดวิกลจริต (Unhinged cards) จะทำให้ระดับความหวาดกลัวเพิ่มขึ้น ครั้งละ 5 หน่วย แต่ถ้าได้ตอนช่วงจบเกม จะทำให้ผู้เล่นคนนั้นออกจากเกมไป

การที่จะได้การ์ดชนิดนี้ จะได้จากการ์ดเค้าโครงคดี และการ์ดความสามารถส่วนตัว (เกิดจากผลของการทอยลูกเต๋า)

จบเนื้อเรื่อง (End of a Chapter) ให้เช็คตามขั้นตอนต่อไปนี้ - การ์ดหวาดกลัวที่คว่ำไว้บนลอนดอนบอร์ดให้เพิ่มค่าระดับความหวาดกลัวใบละ 2 หน่วย - การ์ดหวาดกลัวที่ยังหงายอยู่บนลอนดอนบอร์ดให้เพิ่มค่าระดับความหวาดกลัวตามหัวกระโหลกที่อยู่ด้านซ้ายมือของการ์ดใยนั้นๆ - เหรียญการกระทำพิเศษที่ถูกใช้ (อยู่ตรงขวาสุด) ให้เพิ่มระดับความหวาดกลัวเหรียญละ 1 หน่วย - ถ้าการ์ดเค้าโครงใบสุดท้ายไม่ได้ถูกแก้ ถือว่า ผู้เล่นแพ้ทันที - ให้เอาเหรียญการกระทำทั้ง 12 เหรียญคืนกลับมา - การ์ดสิ่งของที่ใช้แล้วให้ตะแคงกลับไปพร้อมใช้งานใหม่ - เตรียมเนื้อเรื่องบทต่อไป หรือ เริ่มเข้าสู่ช่วงจบเกม

ช่วงจบเกม (The Endgame)

(ภาพจาก https://cf.geekdo-images.com/images/pic3712458_md.jpg)

 

ตรงส่วนล่างสุดของบอร์ดลอนดอนจะมีช่อง และชื่อกำกับ ให้ใส่การ์ดตามชื่อที่กำกับ การ์ดสืบสวนที่เราสามารถแก้ได้ ให้แบ่งผู้เล่นทุกคน คนละเท่าๆกัน (เพื่อช่วยในการแก้การ์ดเหตุการณ์ท้าทาย)

โดยเราจะเจอการ์ดเหตุการณ์ท้าทายทั้งหมด 3 ใบ แต่ก่อนที่จะเผชิญ จะต้องเลือกว่าผู้เล่น แต่ละคนจะเข้าไปแก้ไขการ์ดเหตุการณ์ท้าทาย นั้นหรือไม่

เพราะถ้าเข้าไปแล้วแก้ไขไม่ได้จะส่งผลเสียให้กับเรา อาจจะทำให้เราออกจาเกม จนทำให้การจบเกมยิ่งยากขึ้นไปอีก

ในการเข้าไปเผชิญกับการ์ดเหตุการณ์ท้าทายแต่ละใบ ให้ผู้เล่นทำตามขั้นตอนนี้ 1. การ์ดสิ่งของที่ใช้แล้วให้ตะแคงกลับไปพร้อมใช้งานใหม่ 2. ก่อนที่จะจั่วการ์ดเหตุการณ์ท้าทาย ให้ผู้เล่นทุกคนเลือกที่จะเข้าไปแก้ ถ้าเข้าไปแล้วถือว่าถอยออกไม่ได้ต้องเผชิญหน้ากับการ์ดเหตุการณ์ท้าทายใบนั้น 3. ให้ผู้เล่นแต่ละคนแก้การ์ดเหตุการณ์ท้าทายตามลำดับ จนครบหมดทุกคน หลังจากนั้นให้กลับไปทำตามข้อแรกใหม่ จนครบการ์ดเหตุการณ์ท้าทายทั้ง 3 ใบ

(ภาพจาก http://i.onionstatic.com/avclub/5547/16/original/640.jpg)

 

สุดท้ายให้ทอยเต๋าทั้งหมดที่ได้เทียบกับระดับความหวาดกลัวว่าจะต้องได้ผลสำเร็จเท่าไหร่ ถ้าผู้เล่นสามารถทอยได้ผล เกินกว่าผลสำเร็จของระดับความหวาดกลัว ถือว่าผู้เล่นชนะเกม

แล้วให้นับคะแนนเพื่อวัดว่าในแต่ละรอบเราได้คะแนนเท่าไหร่ในเนื้อเรื่องนั้น

ประสบการ์ณการเล่น เกมนี้บอกเลยว่าเป็นเกมที่ต้องร่วมมือกันเล่นอย่างแท้จริง การจะควบคุมผู้เล่นคนอื่นเรียกว่าค่อนข้างยาก เพราะแค่คิดว่าตัวเองจะต้องทำอะไรยังไงก็ คิดแทบจะไม่ทันอยู่แล้ว

ต้องได้รับการระดมสมองเวลาเล่นเกม การคุยกันวางแผนกันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และจะต้องรอบคอบ

เวลาที่ให้มาอย่างจำกัด ทำให้เราพูดคุยกันแบบเยอะสุดๆ เป็นจุดที่ผมรู้สึกสนุกมากกับบรรยากาศนี้

เราต้องเลือกจับคู่ให้ได้มากที่สุดในระหว่างการจับคู่ก็ต้องปรึกษากับเพื่อนดีๆ จุดตรงนี้อาจจะต่างจากเกมร่วมมือกันเกมอื่น พอมีเวลาจำกัดเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เราคิดแทนคนอื่นไม่ค่อนจะทัน (ตอนเล่นระดับปกติของเกม ก็แทบจะคิดไม่ทันแล้วว่าจะแก้ยังไง)

ความรอบคอบในการเช็คก็เป็นส่วนหนึ่งเหมือนกันที่จะต้องวางเหรียญการกระทำให้ตรงกับบอร์ดนาฬิกา

พอลดจำนวนผู้เล่นเหลือ 2 หรือ 3 คน ตัวเกมยิ่งยากขึ้น เราจะได้การ์ดพันธมิตร(Ally Cards) เข้ามา 9 หรือ 6 ตัว ตามจำนวนผู้เล่น ซึ่งบางครั้งสัญลักษณ์ก็ไม่ครอบคลุม ถ้าเทียบกับได้ตัวผู้เล่นเพิ่มยังดีกว่า

แม้จะลองเล่นด้วยการคุมตัวละครมากกว่า 2 ตัวในคนเดียว ก็เล่นยาก คิดไม่ทัน เพราะเราต้องคอยมองหาสัญลักษณ์ของแต่ละตัว คิดวางแผน ผมเลยว่าเหมาะกับการที่ 1 คน คุม 1 ตัวมากกว่า

สิ่งที่ชอบ - เป็นเกมที่ให้ความรู้สึกถึงการร่วมมือกันอย่างแท้จริง - ออกแบบภาพสวยงาม - ชอบระบบการเล่นที่เราต้องวางแผนไว้ก่อน แล้วมารอลุ้นดูว่าแผนที่เราวางไว้นั้นเป็นอย่างไร ( ช่วงวางแผน กับช่วงดำเนินเนื้อเรื่อง) - ปรับระดับความยากง่ายของเกมขึ้นได้

สิ่งที่รู้สึกต้องปรับปรุง - รู้สึกว่าการเล่น 2 หรือ 3 คน ร่วมกับพันธมิตร (Ally Cards) มันยากไปหน่อยสู้ใช้ตัวละครไม่ได้

(ภาพจาก https://cf.geekdo-images.com/images/pic2590319_md.jpg)

 

วิธีการเล่น

Part 1 Setup game

(คลิปวิดีโอจาก https://www.youtube.com/watch?v=6SAJzdVdDmE)

Part 2 Planing Phase

(คลิปวิดีโอจาก https://www.youtube.com/watch?v=NPkMnSTkduo)

Part 3 Story Phase

(คลิปวิดีโอจาก https://www.youtube.com/watch?v=ep7p8uAOrXw)

Part4 End game

(คลิปวิดีโอจาก https://www.youtube.com/watch?v=qaj9WKcSMoE)

จำนวนผู้เล่นที่แนะนำ : 2 - 4 คน

เวลาในการเล่นต่อรอบ : 60 - 90 นาที

อายุที่เหมาะสม : 13 ปีขึ้นไป

ประเภทของเกม Co-oprative Games Simultaneous Action Selection Variable Player Powers

อุปกรณ์การเล่น

  • Gameboard

  • 4 Action Clocks

  • 16 Action Dice

  • 1 Trauma Die

  • 6 Charecter Sheets

  • 54 Action Tokens

  • 6 Goon Tokens

  • 12 Virture Tokens

  • 6 Modifier Tokens

  • 1 Dread Marker

  • 1 Large Action Marker

  • 3 Small Action Markers

  • 48 Investgaion Tokens

  • 24 Confidence Cards

  • 48 Dread Cards

  • 32 Item Cards

  • 6 Plot Placeholder Cards

  • 32 Plot Cards

  • 24 Endgame Challenge Cards

  • 36 Personality Cards

  • 8 Condition Cards

  • 6 Goon Cards

  • 3 Calypso's Secerts Cards

  • 6 Charecter Medallions

  • 6 Plastic Stand

  • 6 Card Organizers

  • 1 Story Guide

  • 1 Rule Book

เว็บไซต์ผู้ผลิต http://www.greyfoxgames.com/

Comments


บทความล่าสุด
ึึคลัง
ติดตามเรา
  • Facebook Social Icon
  • Twitter Social Icon
  • Instagram Social Icon
  • YouTube Social  Icon
bottom of page