top of page

รีวิวบอร์ดเกม Hostage Negotiator (2015)


(ภาพจาก https://cf.geekdo-images.com/images/pic2043737_md.jpg)

 

Hostage Negotiator จะพาคุณไปคุยกับคนร้าย ในฐานะนักเจรจา โดยการเจรจาของคุณจะผ่านการใช้การ์ดบทสนทนา เพื่อให้คนร้ายใจอ่อน และปล่อยตัวประกันออกมา การใช้การ์ดไม่ใช่เป็นเพียงสิ่งเดียวที่จะทำให้คุณชักจูงคนร้ายได้สำเร็จ ยังมีการใช้ลูกเต๋า เพื่อทดสอบว่าการเจรจาครั้งนั้น สำเร็จหรือไม่ ซึ่งคุณต้องวางแผนการใช้การ์ดแต่ละใบ ให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น Hostage Negotiator ถูกออกแบบโดย A.J. Porfiro ผลิตโดย Van Ryder Games เป็นเกมที่เล่นได้คนเดียว เหมาะสำหรับอายุ 13 ปีขึ้นไป ใช้เวลาในการเล่นประมาณ 20 นาที เป็นเกมแนว Dice and Card games

(ภาพจาก https://cf.geekdo-images.com/images/pic2077522_md.jpg)

 

เป้าหมายของเกม คุณจะต้องช่วยตัวประกันออกมาจากคนร้ายให้ได้ และจับตัวคนร้าย หรือสังหารเขาทิ้งซะ

เงื่อนไขในการชนะเกม - ไม่มีตัวประกันเหลือในช่องตัวประกัน - ช่วยตัวประกันได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของทั้งหมด - คนร้ายถูกจับ หรือถูกสังหาร

จะแพ้ได้เมื่อไหร่? - ตัวประกันเกินกว่าครึ่งถูกสังหาร - คนร้ายสามารถหนีไปได้ - ไม่สามารถจั่วการ์ดความตื่นกลัว (Terror Cards) ได้อีกในช่วงตื่นกลัว (Terror Phase)

จะเริ่มเล่นเกมนี้อย่างไร?

(ภาพจาก https://cf.geekdo-images.com/images/pic2600214_md.jpg)

 
  1. เลือกผู้ร้ายก่อนว่าจะเป็นใคร ซึ่งแต่ละตัวจะจับตัวประกัน และมีค่าความตึงเครียดต่างกัน ( Threart level) ตัวอย่างด้านบน ผู้ร้าย Donna Scarborough จับตัวประกันไว้ 12 คน (รูปคนสีดำด้านขวามือ ) และมีค่าความตึงเครียดเริ่มที่ 2 นำการ์ดความต้องการ (Major Demand) กับการ์ดหลบหนี (Esacape Demand) สับแล้ววางไว้ด้านบนของการ์ดผู้ร้าย

(ภาพจาก https://i0.wp.com/37.60.235.107/~gameosit/wp-content/uploads/2015/09/hostagenegotiator04.jpg)

 

  1. นำหมากสีแดงวางลงตามค่าความตึงเครียด (ตรงนี้จะบอกว่าเราต้องทอยเต๋ากี่ลูกตอนใช้การ์ดบทสนทนา) และวางหมากสีเหลืองตามจำนวนตัวประกันที่คนร้ายจับไว้ หมากสีฟ้าให้วางไว้ที่เลข 0 ตรงนี้เป็นค่าตัวเลขที่เราจะนำไปซื้อการ์ดบทสนทนา(Conversation Cards)ในแต่ละรอบ

(ภาพจาก https://cf.geekdo-images.com/images/pic3025891_md.jpg)

 

3. เรียงการ์ดบทสนทนา จากเลข 0 ไปจนถึง 8 โดยดูได้จากมุมขวาล่าง นำการ์ดเลข 0 ทั้งหมดขึ้นมือ นี้คือมือเริ่มต้นของผู้เล่น

(ภาพจาก https://i0.wp.com/www.asaboardgamer.com/wp-content/uploads/2015/10/HostageNegotiator5.jpg)

 

4. นำการ์ดความตื่นกลัว (Terror Cards) ด้านหลังสีแดงสับแล้วสุ่มออกมาทั้งหมด 10 ใบ และ สุ่มการ์ดจุดสำคัญของเหตุการณ์ (Gold Pivotal Event Terror Cards) มาหนึ่งใบ วางไว้ข้างใต้สุด

เมื่อจัดเตรียมเกมตามขั้นตอนข้างต้นแล้ว ให้จัดพื้นที่ตามรูปด้านล่างนี้ เพื่อความสะดวกในการเล่น และรู้ว่าพื้นที่ต่างๆของเกมเป็นอย่างไร

(ภาพจาก https://www.kickstarter.com/projects/vanrydergames/hostage-negotiator)

 

Hostage Negoriator Tableau

(ภาพจาก https://cf.geekdo-images.com/images/pic2077507_md.jpg)

 

แต้มสนทนา ( Conversation Points) แต้มนี้เอาไว้ซื้อการ์ดบทสนทนากับผู้ร้าย โดยแต้มจะเพิ่มหรือลดลง ได้จากการ์ดบางใบที่ส่งผล และจะมีโอกาสน้อยมากที่แต้มสนทนา จะลดต่ำกว่า หรือมากกว่า ค่าต่ำสุด และสูงสุดที่จะเป็นไปได้

ค่าความตึงเครียด (Threat level) แต้มนี้จะส่งผลให้เราเจรจากับคนได้ง่าย หรือยากขึ้น ถ้าสังเกตช่วงสีเขียวจะมีลูกเต๋าให้เราได้ทอยถึง 3 ลูก ส่วนช่วงสีแดงจะมีให้เราทอยได้ลูกเดียว ซึ่งจะทำให้เกมยากมาก และถ้าในกรณีที่มีการลด ค่าความตึงเครียดจากจุด S ลงไปอีก จะไม่มีการลดแต้มแต่อย่างได้ แต่จะเป็นการย้ายตัวประกันไปช่องปลอดภัยแทน ในทำนองเดียวกันตรงจุด K ถ้ามีการเพิ่มค่าความตึงเครียดเข้าไป คนร้ายจะสังหารตัวประกันทิ้ง

Hostage Negoriator จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ช่วงด้วยกัน

  1. (ช่วงสนทนา) The Conversation Phase

  2. (ช่วงซื้อการ์ด)The Spend Phase

  3. (ช่วงตื่นกลัว) The Terror Phase

1.(ช่วงสนทนา) The Conversation Phase

ช่วงสนทนา เป็นช่วงที่คุณจะได้เจรจากับคนร้าย โดยผ่านการใช้การ์ดสนทนา เราสามารถใช้การ์ดสนทนาได้ไม่จำกัดจำนวน โดยมีวิธีการใช้การ์ดอยู่ด้วยกัน 2 แบบ ก็คือ

- ใช้แบบหงายการ์ดลงไป แล้วทำการทอยลูกเต๋าคุกคาม (Threat Rools) เพื่อทดสอบว่า การ์ดที่เราใช้ไปนั้นสำเร็จหรือไม่ จำนวนลูกเต๋าที่ทอยให้ดูจาก ค่าความตึงเครียดของคนร้ายขณะนั้น

- เล่นการ์ดการคว่ำการ์ดเพื่อได้รับแต้มสนทนาเพิ่ม (ไว้ใช้ในการซื้อการ์ดสนทนาที่ระดับสูงกว่า)

(ภาพจาก https://ksr-ugc.imgix.net/assets/004/285/518/e85040b9f4f4870169856fc16f88d28a_original.png)

 

วิธีการทอยเต๋าคุกคาม ใช้จำนวนลูกเต๋าตามค่าความตึงเครียดของคนร้ายขณะนั้น โดยเต๋าหน้าหมายเลข 4 เราสามารถทิ้งการ์ดสองใบเพื่อเปลี่ยนผลให้เป็นสำเร็จได้ ส่วนหน้า 5 และ 6 จะถือว่าสำเร็จ

(ภาพจาก http://dailyworkerplacement.com/wp-content/uploads/2016/04/hosn4a-640x458.jpg)

 

2. (ช่วงซื้อการ์ด) The Spend Phase ช่วงนี้ผู้เล่นสามารถใช้แต้มสนทนาในการซื้อการ์ด โดยทำตามขั้นตอนนี้ 1. ผู้เล่นใช้แต้มในการซื้อการ์ดสนทนา - โดยไม่สามารถซื้อในช่วงสนทนาได้ - การ์ดที่ซื้อจะต้องไม่ทำให้แต้มสนทนาของผู้เล่นต่ำกว่า 0 - ผู้เล่นไม่สามารถซื้อการ์ด เกิน 10 ใบได้

2. ปรับให้แต้มสนทนากลายเป็น 0 แต้มนี้จะไม่สะสมไปรอบต่อไปได้

3. นำการ์ดที่ใช้แล้ว กลับมาไปยังพื้นที่การ์ดที่สามารถซื้อได้ (พื้นที่สีเทาตามภาพด้านล่าง) ** เรายังสามารถซื้อการ์ดสนทนาที่มีแต้ม 0 แม้ว่าแต้มสนทนาเราจะต่ำกว่า 0 แล้วก็ตาม**

(ภาพจาก https://ksr-ugc.imgix.net/assets/004/257/361/2899b46661d29c7ceb4b4325d0777aa4_original.png)

 

3.(ช่วงตื่นกลัว) The Terror Phase

(ภาพจาก https://ksr-ugc.imgix.net/assets/004/257/364/2847e0d7d3d9f23f6469152ae8016e6b_original.png)

 

ผู้เล่นจั่วการ์ดตื่นกลัวจากกองการ์ดตื่นกลัวแล้วแสดงผลตามที่เกิดขึ้น ถ้าไม่สามารถจั่วการ์ดตื่นกลัวได้ ตัวประกันทั้งหมดจะถูกฆ่าทิ้ง และผู้ร้ายจะหนีจากที่เกิดเหตุได้ ทำให้คุณแพ้เกมไป การ์ดตื่นกลัวเปรียบเสมือนเวลาที่กำลังเดินอยู่ และเหตุการณ์ที่ผู้ร้ายจะตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง

**การ์ดตื่นกลัวบางใบจะมีผลกระทบเพิ่ม ถ้าหากเราไม่ได้ฟังความต้องการของผู้ร้าย(ใช้การ์ด "What are your demand?") **

เมื่อเปิดการ์ดจุดสำคัญของเหตุการณ์ (Gold Pivotal Event Terror Cards) ผู้เล่นจะมีช่วงสนทนาเพิ่มอีกเป็นช่วงสุดท้าย และสามารถซื้อการ์ดสนทนาได้ นี้คือจุดแตกหักของสถานการณ์ เป็นโอกาสสุดท้ายที่คุณจะยังช่วยเหลือตัวประกัน

(ภาพจาก http://3.bp.blogspot.com/-4BJVfLOXzvU/ViKjS063ieI/AAAAAAAABcE/G1c4BAzCrSY/s1600/pic2579863_lg.jpg)

 

**กฏเพิ่มเติม ** การจับตัวคนร้าย ผู้เล่นสามารถจะจับได้ก็ต่อเมื่อ ไม่มีตัวประกันเหลือแล้ว การลดค่าความตึงเครียดตอนที่ไม่มีตัวประกัน คนร้ายจะยอมมอบตัวให้กับเราทันที การลดค่าความตึงเครียดในช่วงตื่นกลัว (Terror Phase ) ให้ข้ามผลตรงข้อนี้ไป

การสังหารคนร้าย

ผู้เล่นสามารถสังหารคนร้ายได้ทุกเมื่อ หลังจากนั้น ให้เปิดการ์ด "2nd In Command" การ์ดใบนี้จะส่งผลเมื่อมีการเพิ่มค่าความตึงเครียด ตัวประกันจะถูกฆ่าทิ้งไปเรื่อยจนกว่าจะเหลือตัวสุดท้าย ถ้าผู้เล่นสามารถช่วยเหลือตัวประกันได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง ก็ยังสามารถชนะเกมได้ แต่ถ้าน้อยกว่าก็แพ้ไป

ประสบการ์การเล่น อุปกรณ์ทั่วไปของเกม ตอนแรกที่เห็นผมตกใจเลยนะว่า ทำไมมันทำดูดีขนาดนี้ ตัวประกันที่เป็นไม้ กับบอร์ด แถมคุณภาพของการ์ดก็ดี บางเกมทำการ์ดออกมาไม่ค่อยดีเท่าไหร่ การ์ดดีไซน์รูปอาจจะดู แย่ไปนิด มีแค่รูปตัวคนพูด กับเปลี่ยนข้อความการ์ด แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาอะไรมากนัก ส่วนมากอยู่ที่เราจินตนาการในหัวเวลาใช้การ์ดจะรู้สึกเกมมันดีจริงๆ

ทดสอบเล่นเกมนี้หลายครั้ง บางครั้งก็รู้สึกตัวเองเหมือนคนบ้ายังไงยังงั้น เล่นๆไปก็นึกในหัวเหมือนเรากำลังคุยกับคนร้ายอยู่ ว่าไปแล้วก็ขำดีครับ เกมออกแบบมาให้เล่นคนเดียว ไม่ต้องไปง้อใคร เกมดูเหมือนจะใช้ดวงจากลูกเต๋าค่อนข้างเยอะ การวางแผนที่ดีจากการให้มีแต้มสนทนาเยอะๆ ทำให้เราใช้การ์ดระดับสูงได้แต่บางครั้งด้วยดวงของการทอยก็ทำให้รู้สึกมีจังหวะที่แย่ของเกมเหมือนกัน การเล่นการ์ดให้ครบทุกใบที่มีบนมือก็ไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด ต้องยอมเสียการ์ดไปเพื่อแต้มสนทนา หรือเก็บไว้ใช้เพื่อเพิ่มผลสำเร็จจากการทอยเต๋า (ทิ้ง2ใบทำให้หน้าเต๋าเลข 4 เป็นหน้าเต๋าผลสำเร็จ) เกมมีคนร้ายให้เลือก 3 ตัว

1 ตัวเป็นตัวเริ่มต้นให้รู้จักระบบเกม และที่เหลือคนร้ายจะมีความสามารถพิเศษ ทำให้เกมดูมีความยากมากขึ้น (แค่ตัวเริ่มต้นนี่กว่าจะผ่าน ผมก็กินเวลานานเหมือนกัน) แต่เกมค่อนข้างใช้ดวงเยอะหน่อย ถ้าตอนไหนดวงดีเล่นการ์ดใบไหนก็ได้ทั้งนั้น ดีหมด ซึ่งตัวเกมก็ไม่ได้มีอะไรมาเสริมช่วยเรื่องลดทอนเรื่องดวงจากการทอยเต๋าเลย

เกมยังมีการออกตัวเสริมออกมาให้มีความหลากหลายมากขึ้นมีการ์ดให้ใช้เยอะขึ้น ทั้งคนร้าย และระบบยิ๊บย่อย ซึ่งทำออกมาได้ดีเลย (ผมซื้อตัวเสริมมาอีก 2 ตัวเท่านั้น แต่เห็นจากเว็บมีทั้งหมด 4 ตัว )

ใครที่สนใจเกมนี้คงต้องพิจารณาถึงพฤติกรรมการเล่นตัวเองเสียหน่อย เกมนี้เหมือนเป็นเกมที่จะต้องเก็บอยู่บ้านเวลาว่างๆมีความอยากเล่นบอร์ดเกม ก็สามารถเอามาเล่นแก้ความอยากได้ เกมจบไว ตั้งเกมง่าย

แต่สำหรับคนที่ไปกับกลุ่มเพื่อน หรือเล่นทีไรก็มีเพื่อนมากันเยอะแยะ อาจจะต้องขึ้นหิ้งไปเลยก็ได้สำหรับเกมนี้

(ภาพจาก http://www.asaboardgamer.com/wp-content/uploads/2015/10/HostageNegotiator1-e1444845389436.jpg)

 

สิ่งที่ชอบ - เล่นได้คนเดียว ตั้งไว เล่นไว - เหมาะไว้เวลามีความอยากเล่นบอร์ดเกม แล้วไม่รู้จะเลือกอะไร - วิธีเล่นง่าย แต่เล่นจริงๆก็ไม่ได้ง่าย

สิ่งที่รู้สึกต้องปรับปรุง - รู้สึกถูกกำหนดด้วยดวงมากไป บางครั้งดวงน้อย เล่นยากมาก ทอยยังไงก็ไม่เคยสำเร็จ

วิธีการเล่น

(คลิปวิดีโอจาก https://www.youtube.com/watch?v=Q4B6qY1bfx4)

 

จำนวนผู้เล่นที่แนะนำ : 1 คน

เวลาในการเล่นต่อรอบ : 20 นาที

อายุที่เหมาะสม : 13 ปีขึ้นไป

ประเภทของเกม Dice and Card Games Hand management

อุปกรณ์การเล่น

  • Abductor Cards x 3

  • 2nd in Command Card x 1

  • Major Demand Cards X 7

  • Escape Demand Cards x 4

  • Red Terror Cards x 21

  • Gold Pivotal Event Terror Cards x 6

  • Conversation Cards x 22

  • Custom Dice x 5

  • Yellow Hostage Pieces x 15

  • Red Threat Level Marker x 1

  • Blue Conversation Point Marker x 1

  • Hostage Negotiator Tableau x 1

  • Rulebook x 1

เว็บไซต์ผู้ผลิต http://www.vanrydergames.com/

Comments


บทความล่าสุด
ึึคลัง
ติดตามเรา
  • Facebook Social Icon
  • Twitter Social Icon
  • Instagram Social Icon
  • YouTube Social  Icon
bottom of page